โรคหัวใจ คืออะไร อาการ สาเหตุ และวิธีการรักษาโรคหัวใจ

โรคหัวใจ เนื่องจากชั่วโมงการทำงานที่อัดแน่นไปด้วยด้วยความเครียด และการกินอาหารที่อุดมไปด้วยไขมันและเกลือ นั่นหมายถึงกำลังมีการคุกคามสุขภาพของคนยุคปัจจุบัน ภายในระยะเวลาอีกไม่นานนี้… หากการใช้ชีวิตสมัยใหม่ดังนี้ อาจจะเป็นเหตุทำให้ โรคหัวใจ เกิดการระบาดกันไปทั่วบ้าน ทั่วเมืองเลยเชียว — โรคหัวใจ

หัวใจของคนเรานั้นมี 4 ห้อง แบ่งเป็น ซ้าย-ขวา โดยที่ผนังของกล้ามเนื้อหัวใจ  และจะมีการแบ่งเป็นห้อง ห้องบน–ห้องล่าง โดยลิ้นหัวใจ และในทุกๆ วันหัวใจของคนเราจะเต้นประมาณ 100,000 ครั้ง เลยทีเดียวและจะสูบฉีดเลือดด้วย ประมาณวันละ 2,000 แกลลอน หากเปรียบเสมือนการทำงานปกติประจำวัน ของ “หัวใจ” แต่ถ้าวันหนึ่ง… หากว่าหัวใจเราเกิดอาการผิดปกติขึ้นมาล่ะ เราจะทำอย่างไร…?

ทั้งนี้ นายแพทย์สุรพันธ์ สิทธิสุข นายแพทย์จากหน่วยโรคหัวใจ และหลอดเลือด คณะแพทย์ศาสตร์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้กล่าวไว้ว่า อาการผิดปกติเบื้องต้นของร่างกาย ที่อาจเป็นข้อบ่งชี้ได้ว่า มีอัตราเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจนั้น จะสามารถแบ่งกันได้หลายชนิด ดังนี้

อาการของโรคหัวใจ

อาการของโรคหัวใจ ที่อาการผิดปกติอันเกิดขึ้นเฉียบพลัน…

อาการของโรคหัวใจ คืออาการผิดปกติเบื้องต้นของร่างกาย ที่เป็นข้อบ่งชี้ว่าอาจเป็นโรคหัวใจ และจะพบได้บ่อยในคนทั่วไป ที่คิดว่าตัวเองนั้นมีสุขภาพดี ทั้งที่ความเป็นจริง อาจเป็นโรคหัวใจในระยะแรกเริ่มได้ มีดังนี้

1. เหนื่อยมากในตอนเวลาออกกําลังกาย เพราะหัวใจนั้นจะทําหน้าที่ในการสูบฉีดโลหิต ไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ในขณะที่เราออกกําลังกาย หัวใจจะทํางานหนักมากยิ่งขึ้น ซึ่งปกติในเวลาที่เราออกกำลังกาย ไปจนถึงระดับหนึ่งเราก็จะเริ่มรู้สึกเหนื่อย แต่ในรายของคนที่มีอาการของโรคหัวใจขั้นเริ่มต้นนั้น แม้จะเป็นการออกกำลังกายเพียงเล็กๆน้อยๆ ก็จะทำให้รู้สึกว่าเหนื่อยผิดปกติ เหนื่อยอย่างไม่เคยเป็นแบบนี้มาก่อน ดังนั้นหากว่าออกกำลังกายแล้วเกิดรู้สึกเหนื่อยได้ง่ายอย่างผิดปกติแล้ว นั่นก็อาจจะเป็นข้อบ่งชี้ได้ว่า คุณอาจกำลังเป็นโรคหัวใจได้

2. เจ็บหน้าอกหรือแน่นหน้าอก มักจะพบได้บ่อย ในคนที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ และไขมันอุดตันในหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งอาการดังกล่าวนี้จะมีลักษณะเฉพาะคือ จะมีความรู้สึกเหมือนหายใจอึดอัดมาก และรู้สึกว่าแน่นบริเวณกลางหน้าอก เปรียบก็เหมือนกับมีของที่หนักๆมาวางทับอยู่ หรือถูกการที่ถูกรัดไว้ โดยที่ไม่ให้เราขยายตัวเวลาหายใจ และโดยส่วนมากอาการเหล่านี้ มักจะมีการแสดงออกมาในเวลาที่หัวใจต้องทำงานหนัก เช่น ในระหว่างการออกกำลังกาย หรือจากที่มีการใช้แรงมาก ๆ เป็นต้น ซึ่งเป็นอีกในหนึ่งของสัญญาณเตือนว่า คุณอาจเป็นโรคหัวใจได้

3. ภาวะหัวใจล้มเหลว อันเกิดจากการที่หัวใจ ไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้อย่างเพียงพอ โดยที่ผู้ป่วยนั้น ก็มักจะเริ่มมีอาการเหนื่อย ทั้งที่มีการออกกำลังกายเพียงนิดหน่อยเท่านั้น หรือหากเกิดว่ามีอาการเหนื่อยทั้งๆที่ยังนั่งอยู่เฉยๆ ในกรณีที่เป็นเอามากๆ ก็อาจจะทำให้ไม่สามารถที่จะนอนราบได้เหมือนปกติ เพราะจะรู้สึกว่าเหนื่อยมากเวลาหายใจ และจะอึดอัดตรงหน้าอกมาก นอกจากนั้น ก็อาจจะมีอาการหอบ จนต้องตื่นขึ้นมาหอบเอากลางดึกอีกด้วย โดยที่อาการจากภาวะหัวใจล้มเหลวนี้ หากเราไม่รีบไปพบแพทย์โดยเร็ว และหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีแล้วละก็ อาจมีอันตรายถึงชีวิตได้เลย

4. ใจสั่นและหัวใจเต้นผิดจังหวะ ซึ่งโดยปกตินั้นหัวใจของเราจะเต้นด้วยจังหวะที่สม่ำเสมอ ประมาณ 60 -100 ครั้ง/นาที  แต่สำหรับคนที่มีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะนี้ การเต้นของหัวใจมีการขยับขึ้นไปจนถึง 150 -250 ครั้ง/นาที ซึ่งอัตราการเต้นของหัวใจอันไม่สม่ำเสมอแบบนี้ จะเป็นผลทำให้เหนื่อยง่าย ใจสั่น และหายใจไม่ทันนั่นเอง

5. เป็นลมหมดสติ คืออีกหนึ่งของอาการที่เตือนว่าคุณอาจเป็นโรคหัวใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้สูงอายุ ซึ่งมีอัตราเสี่ยงต่อการเป็นลมหมดสติสูง เนื่องจากจังหวะการเต้นของหัวใจจะไม่สม่ำเสมอ เพราะเซลล์ซึ่งทำหน้าที่ให้จังหวะไฟฟ้าในหัวใจเสื่อมสภาพ อันส่งผลให้หัวใจเต้นได้ช้าลง  และส่งเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ จนอาจจะทำให้เป็นลมล้มไปชั่วคราวได้ ทั้งนี้ การที่เป็นลมหมดสติไปนั้น มักจะพบว่าเกิดขึ้นในท่ายืนมากกว่านั่ง ซึ่งจะเป็นสาเหตุที่ทำให้ขณะที่ล้มลง ศีรษะจะมีโอกาสฟาดกับพื้นได้สูง  และเกิดการกระทบกระเทือนต่อสมองได้มากกว่า  ดังนั้น ใครที่มีอการเป็นลมบ่อย ๆ ควรรีบไปพบแพทย์ตรวจซะ  เพราะอาจเป็นโรคหัวใจได้

6. หัวใจหยุดเต้นกะทันหัน  ในกรณีเช่นนี้ มักเกิดจากความผิดปกติของเซลล์หัวใจโดยตรง  และมักเกิดกับคนปกติที่ไม่มีอาการของโรคหัวใจมาก่อนล่วงหน้า  ซึ่งหากมีอาการหัวใจหยุดเต้นกะทันหันแล้ว  และถ้าไม่ได้รับการช่วยเหลือที่รวดเร็ว ก็อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้เลย

หัวใจ

โรคหัวใจ ที่อาการผิดปกติที่สังเกตได้จากร่างกาย...

โรคหัวใจ นอกจากความผิดปกติ ในชนิดเฉียบพลันแล้ว ยังมีอาการที่สามารถจะบ่งชี้อันจะสามารถสังเกตุได้จากร่างกายของเราเองนั้น  ก็เป็นอีกความผิดปกติหนึ่ง ที่จะแจ้งเตือนให้เรารู้ว่า คุณอาจเป็นโรคหัวใจอยู่นะ ก็ควรที่จะไปพบแพทย์โดยเร็วได้เช่นกัน เป็นต้นว่า….

1. ขาหรือเท้าบวมโดยที่ไม่ทราบสาเหตุ  แต่เมื่อกดดูแล้วมีรอยบุ๋มตามนิ้วที่กดลงไปด้วยแล้ว ซึ่งถ้าหากว่าเกิดอาการนี้ขึ้นกับใครแล้ว ก็ควรจะรีบไปพบแพทย์ เพื่อทำการตรวจเช็คโดยเร็ว เพราะนั่นอาจจะเป็นสัญญาณแจ้งเตือนให้รู้ตัวว่า เวลานี้คุณอาจอยู่ในภาวะหัวใจล้มเหลวโดยที่ไม่รู้ตัวได้

2. ปลายมือ ปลายเท้า และริมฝีปากจะมีลักษณะเขียวคล้ำ อาการดังกล่าวจะแสดงให้เห็นว่า ทางเดินของเลือดในหัวใจห้องขวากับห้องซ้าย  มีการเชื่อมต่อที่ผิดปกติ ที่จะส่งผลทำให้เกิดการผสมของเลือดแดงและเลือดดําขึ้น อันจะทําให้ปริมาณของออกซิเจนในเลือด มีปริมาณน้อยลง

โรคหัวใจ ที่อาการผิดปกติที่ตรวจพบขณะตรวจร่างกาย...

การไปพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพประจำปีนั้น จะเป็นอีกวิธีหนึ่งอันจะทำให้เรา สามารถที่จะทำการคาดคะเนความถึงเสี่ยงต่อการที่จะเกิดโรคหัวใจ ได้ด้ังเช่น ทำการตรวจเลือดแล้วพบว่าเป็นเบาหวาน  หรือมีไขมันในเลือดสูง  ก็อาจสันนิษฐานเบื้องต้นได้ว่า  มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้เช่นกัน หรือทำการเอ็กซเรย์แล้วพบว่า ขนาดของหัวใจโตกว่าปกตินั้น ซึ่งอาจเกิดจากหลอดเลือดในหัวใจตีบหรือลิ้นหัวใจรั่ว และอาจจะกล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวอ่อนกำลังลง จึงเป็นสาเหตุ อันทำให้ห้องของหัวใจเกิดการขยายขนาดใหญ่ขึ้น ทั้งนี้หากได้ทำการตรวจพบว่ามีความเสี่ยงที่สูงแล้ว ก็ไม่ควรจะนิ่งนอนใจ ควรจะต้องรีบไปพบแพทย์โดยด่วน

สาเหตุของโรคหัวใจ

จะป้องกันโรคหัวใจอย่างไรดี...

จากข้อมูลที่ได้บอกไปข้างต้น จะเป็นเพียงข้อสันนิษฐานเบื้องต้นเท่านั้นว่า  เรามีอัตราเสี่ยงสูงต่อการป่วยเป็นโรคหัวใจเท่านั้น สำหรับผู้ที่จะทำการวินิจฉัย ว่าเราจะเป็นโรคหัวใจหรือไม่นั้น ก็คือ แพทย์โรคหัวใจเพียงเท่านั้นที่จะวินิจฉัยได้ ดังนั้นหากพบความผิดปกติแล้วเราก็ควรจะรีบไปพบแพทย์โดยด่วนจะเป็นการดีที่สุดด้วย

การรักษาโรคหัวใจ

สำหรับคนที่หัวใจยังเป็นปกติอยู่  เราก็มีข้อแนะนำในการดูแลหัวใจ (ก่อนที่จะสายเกินไป) ดังนี้ค่ะ

– สังเกตความผิดปกติของตัวเองอยู่เสมอ โดยเฉพาะหากพบอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นเฉียบพลัน เช่น ดูว่าอัตราการเต้นของหัวใจปกติดีหรือไม่  เจ็บหน้าอก ใจสั่นบ่อย ๆ หรือเปล่า เป็นต้น

– ออกกำลังกายอยู่เป็นประจำ จะเป็นการช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ สุขภาพจิตก็จะแจ่มใสขึ้นด้วย  และยังจะช่วยให้หัวใจสูบฉีดเลือดได้ดีขึ้นอีกด้วย

– ดูแลสุขภาพของใจให้เกิดความผ่องใสอยู่เสมอ  โดยจะต้องพยายามไม่ให้เกิดความเครียด ต้องรู้จักควบคุมอารมณ์  และให้พึงระลึกไว้อยู่เสมอๆว่า ความเครียดและความโกรธนั้น มันเป็นตัวการที่สำคัญ มันจะทำให้หัวใจเต้นแรง และทำงานหนักขึ้นได้

– ในการรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยควรจะงดอาหารที่มีไขมันสูง ซึ่งจะสามารถทำให้ความดันโลหิตสูงได้  และยังจะทำให้เกิดภาวะเส้นเลือดหัวใจตีบได้ง่ายๆอีกด้วย และควรจะหันไปกินผักผลไม้ให้มากขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย

– ควรไปตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกๆปี  เพื่อที่จะเป็นการป้องกันและ เป็นการช่วยรักษาโรคหัวใจ ที่อาจจะเกิดขึ้นแบบคาดไม่ถึงด้วย เช่น โรคหัวใจ ซึ่งที่แฝงอยู่ในตัวเราตั้งแต่เนิ่น ๆ แล้ว

… เมื่อหัวใจอ่อนแรง  มันก็ยังคงเดินต่อไป  ทำงานกันต่อไป …  เพราะฉะนั้นหากเมื่อเรารู้ว่า “หัวใจ” ของคนเราไม่เคยหยุดพักเลย  ก็อย่าลืมช่วยดูแลและรักษามันไว้ให้ดี ๆ นะคะ

อาการต่างๆของโรคหัวใจที่เพื่อนๆได้ทราบไปในวันนี้ทางเราหวังว่าจะสามารถเป็นประโยชน์ให้ได้ไม่มากก็น้อย อยากให้เพื่อนๆแบ่งปันความสุขไม่ว่าจะเป็นความสุขการกิน เที่ยว การพักผ่อน หรือความสุขจากการให้ก็ดีต่อหัวใจทั้งนั้น เมื่อเรามีความสุข ก็จะทำให้สุขภาพภายในของเราดี อย่าลืมนำความรู้ที่ได้ไปในวันนี้ ใช้ดูแลสุขภาพของของรอบข้างและตัวเองด้วยความรักกันด้วยนะค่ะ