ประเภทของวิตามิน และบทบาทของวิตามินที่สำคัญต่อร่างกาย

วิตามิน มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตให้สามารถเป็นอยู่แบบปกติอยู่ได้ โดยวิตามินมีหน้าที่ในการควบคุมการทำงานระบบต่าง ๆ ใน ร่างกายเพื่อให้เป็นปกติ สามารถช่วยบำรุงผิวพรรณ เหงือก ผม และตาให้ดูดีมีความสวยงาม

รวมทั้งสามารถช่วยสร้างเซลล์ให้เจริญเติบโตและมีส่วนในการเพิ่มภูมิต้านทานโรคของร่างกายอีกด้วย ซึ่งร่างกายของคนเราไม่สามารถสังเคราะห์วิตามินเองได้ จึงต้องได้รับวิตามินต่าง ๆ จากอาหาร — วิตามินซียี่ห้อไหนดี

ประเภทของวิตามิน แบ่งเป็น 2 ชนิดคือ

1. วิตามินประเภทที่ละลายในไขมัน ได้แก่ วิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี และวิตามินเค

2. วิตามินประเภทที่ละลายในน้ำ ได้แก่ วิตามินบี วิตามินซี

วิตามิน แต่ละประเภทที่พบยังสามารถแบ่งออกเป็นชนิดย่อย ๆ ได้อีกหลายชนิด ในส่วนของชนิดที่พบมากที่สุด คือ วิตามินบี (B complex) ซึ่งจะมีอยู่ประมาณเกือบ 20 ชนิด

แต่ที่มีการทราบสูตรโครงสร้างแล้วมีอยู่ประมาณ 10 ชนิด อาทิ เช่น วิตามินบี1 B1 (thiamine) วิตามินบี2 B2 (riboflavin) ไนอะซิน (niacin) กรดโฟลิก (folic acid) ไบโอทิน (biotin) วิตามินบี12 B12 (cyanocobalamin หรือ conalamin) เป็นต้น

ประโยชน์ของวิตามิน

ประโยชน์ของวิตามิน

วิตามินเอ มักพบในอยู่ในอาหารประเภทตับ น้ำมันปลา มะละกอสุก ไข่แดง นม เป็นต้น เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สามารถช่วยบำรุงสายตา กระดูก ผิวหนัง และฟันได้ดี

วิตามินดี พบอยู่ในอาหารประเภท เนื้อ ตับ น้ำมันตับปลา ไข่ นม ปลา เป็นต้น สามารถช่วยในการรักษาระดับแคลเซียมฟอสเฟต และช่วยในการดูดซึมแคลเซียม และฟอสฟอรัสเพื่อสร้างฟันและกระดูก

วิตามินอี

วิตามินอี พบในผักใบเขียว หรือ ถั่วชนิดต่าง ๆ เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ มีส่วนสามารถช่วยให้เม็ดเลือดแดงแข็งตัว เพื่อช่วยป้องกันการเป็นหมัน และยังช่วยบำรุงผิวให้ชุ่มชื่น

วิตามินเค พบในถั่วเหลือง เนื้อหมู ตับ ผักขม กะหล่ำปลีมะเขือเทศ สามารถช่วยให้เลือดแข็งตัวเร็ว

วิตามินซี

วิตามินซี หรือกรดแอสคอร์บิก พบมากในอะเซโรล่าเชอรี่ หรือ ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สามารถช่วยในการป้องกันโรคหวัด สามารถลดระดับของคลอเลสเตอรอล

(เพราะวิตามินซีจะเข้าไปรวมตัวกับคลอเลสเตอรอลและแคลเซียม จึงช่วยทำให้คลอเลสเตอรอลแตกกระจายในน้ำได้) ช่วยให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่า และช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย

วิตามินบีรวม มีดังต่อไปนี้

วิตามินบี 1 พบใน ข้าวซ้อมมือ ตับ ไข่ ถั่ว เนื้อหมู มันเทศช่วยบำรุงปลายประสาท มีส่วนในการรักษาโรคเหน็บชาตามปลายมือปลายเท้า

วิตามินบี 2 พบใน ยีสต์ เนื้อสัตว์ ตับ นม สามารถช่วยให้มีการเจริญเติบโตปกติ ลิ้น ตา ผิวหนัง มีสุขภาพดีขึ้น

วิตามินบี 3 บางทีเรียกว่า ไนอาซิน พบใน ตับ ไต หัวใจ ยีสต์ ถั่ว สามารถช่วยในการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต และยังใช้ในการักษาโรคปวดศีรษะแบบไมเกรนได้อีกด้วย

วิตามินบี 5 พบใน ตับ ถั่ว ยีสต์ เนื้อสัตว์  เป็นส่วนประกอบของโคเอนไซม์ ถ้าขาด วิตามินบี 5 จะทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย ประสาทหลอน ผิวหนังแห้ง

วิตามินบี 6 มีชื่อทางเคมีว่า ไพริดอกซิน (Pyridoxin) พบใน ถั่วเหลือง เนื้อสัตว์ ตับ ผักเขียว สามารถช่วยในการทำงานของระบบย่อยอาหาร ถ้าขาด วิตามินบี 6 จะมีอาการ ประสาทเสื่อม บวมตามร่างกาย และผมร่วงได้

วิตามินบี12

วิตามินบี 12 พบในตับ ไข่ ยีสต์ เนื้อหมู เนื้อปลา มีส่วนสำคัญในการสร้างเม็ดเลือดแดง และยังสามารถช่วยในการทำงานของระบบประสาท

จะเห็นได้ว่าวิตามิน มีส่วนสำคัญในการดูแล บำรุง รักษาร่างกาย เพื่อน ๆ ไม่สามารถขาดได้ การกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ จึงเป็นสิ่งสำคัญมาก ๆ เพราะถ้าขาดวิตามินซี ก็จะทำให้เป็นหวัดได้ง่าย

ถ้าขาดวิตามินบี 6 ก็จะทำให้ผมร่วง หรือถ้าขาดวิตามินอี ก็อาจจะเป็นหมัน ดังนั้นเราควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่เพื่อบำรุงสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ให้มีสุขภาพที่ดี ไร้โรคภัยไข้เจ็บ สวัสดีค่ะ