วิตามินบีรวม รู้จักกับประโยชน์ ( วิตามินบีรวม 13 ชนิด )

วิตามินบี หรือ วิตามินบีรวม เรามักรู้จักกันในวิตามินเสริมอาหาร และมีหลายชนิด ทุกชนิดนั้นก็มีประโยชน์และผลข้างเคียงที่ต่างกันออกไป โดยวิตามินบีแต่ละตัวจะทำงานเสริมซึ่งกันและควรท่จำรับประทานร่วมกันจึงจะมีประสิทธิภาพมากกว่า สำหรับชนิดต่าง ๆ ของวิตามินบีรวมนั้นก็ได้แก่

วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินบี 5 วิตามินบี 6 วิตามินบี 7 วิตามินบี 9 วิตามินบี 12 วิตามินบี 15 วิตามินบี 17 และยังรวมไปถึง ไบโอติน โคลีน พาบา อิโนซิทอล อีกด้วยที่จัดว่าอยู่ในกลุ่มของ — วิตามินบีรวม

สำหรับการรับประทานวิตามินบีในรูปของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนั้น ไม่ควรแยกรับประทานเพราะจะไม่ได้ประสิทธิภาพดีเท่าที่ควร แต่ควรรับประทานเป็นวิตามินบีรวม เพราะวิตามินบีแต่ละชนิดนั้นจะทำหน้าที่ส่งเสริมซึ่งกันและกัน

และจะทำให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานอย่างสูงสุด โดยวิตามินบีรวมนั้นมีความจำเป็นอย่างมากต่อระบบประสาทและความสมบูรณ์ของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย

วิตามินบี1

วิตามินบี 1 (ไทอะมีน)

• ไทอะมินหรือที่เรียกกันว่าวิตามินบี 1 อยู่ในกลุ่มของวิตามินบีรวม เป็นวิตามินที่ละลายน้ำ หากมีอยู่ในร่างกายมากเกินไปก็จะถูกขับออกมาเพราะร่างกายไม่สามารถเก็บสะสมไว้ได้ จึงควรที่จะได้รับทุกวัน

• วิตามินบี 1 อาจถูกเรียกว่า “วิตามินเสริมขวัญและกำลังใจ” เพราะช่วยบำรุงประสาท ควรที่จะรับประทานร่วมกันจึงจะมีประสิทธิภาพมากกว่าแยกรับประทาน โดยควรรับประทานวิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 6 ในปริมาณที่เท่า ๆ กัน จะทำให้มีประสิทธิภายมากขึ้น

• วิตามินบี 1 พบได้ในจำพวก ถั่วเหลือง ผักใบเขียง ข้าว ถั่วลิสง รำข้าว เปลือกข้าว นม ไข่แดง เนื้อหมู เนื้อปลา เป็นต้น

• ผลเสียของการรับประทานเกินขนาด ก็คือ ตัวบวม ภูมิแพ้ หัวใจเต้นผิดปกติ

• ศัตรูของวิตามินบี 1 คือ แอลกอฮอล์ น้ำ อากาศ ฮอร์โมนเอสโตรเจน คาเฟอีน ยาลดกรดในกระเพาะ เป็นต้น

ประโยชน์ของวิตามินบี1

1. เสริมสร้างระบบการเจริญเติบโต
2. ช่วยในการทำงานของระบบประสาท และหัวใจ
3. บำรุงประสาท บำรุงกล้ามเนื้อ และช่วยให้หัวใจทำงานเป็นปกติ
4. บำรุงสมอง ความคิด สติปัญญาให้ดีมากยิ่งขึ้น
5. นำออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ในร่างกาย
6. ช่วยในการดูดซึมไขมัน
7. ช่วยลดอาการวิงเวียนศีรษะ
8. ช่วยให้ระบบขับถ่ายเป็นปกติ
9. รักษาอาการเหน็บชาได้

วิตามินบี2

วิตามินบี 2 (ไรโบฟลาวิน)

• ไรโบฟลาวิน หรือเรียกว่า วิตามินบี2 มีอีกชื่อว่า วิตามินจี (Vitamin G)

• แหล่งอาหารที่พบวิตามินมี2 มาก ได้แก่ เนื้อปลา นม ไข่ ถั่ว ตับ ถั่วลิสง น้ำมันรำข้าว ผักใบเขียวต่าง ๆ

• เมื่อร่างกายได้รับวิตามินชนิดนี้เยอะจนเกิดขนาด จะเกิดอาการ คัน รู้สึกชา อาการแสบยิบ ๆ

• เมื่อร่างกายขาดวิตามินบี2 จะเกิดอาการ ประสาทผิดปกติ ผิวหนังอักเสบ อ่อนเพลี เบื่ออาหาร

ประโยชน์ของวิตามินบี 2

1.ช่วยในการแลกเปลี่ยนออกซิเจนในร่างกาย
2. ป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อรา
3. ถ้ากินคู่กับแคลเซียม จะทำให้อายุยืนขึ้นได้
4. กำจัดอาการเจ็บแสบในปาก ริมฝีปาก และลิ้น
5. บำรุงไต และอวัยวะต่าง ๆ

วิตามินบี3

วิตามินบี 3 (ไนอะซิน)

• วิตามินบี 3 หรือ ไนอะซิน พบมากในน้ำมันรำข้าว ถั่วลิสง มันฝรั่ง ใบยอ เป็นต้น

• ควรรับประทาน13-19 มิลลิกรัมต่อวัน

• เมื่อขาดวิตามินชนิดนี้ทำให้ ตับและประสาททำงานผิดปกติ ผิวหนังอักเสบ

• ผลเสียของการรับประทานเกินขนาด

1. หากในร่างกายคุณมีไนอะซินมากเกินไปอาจทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคเกาต์
2. ทำให้โรคเบาหวานนั้นรุนแรงมากยิ่งขึ้น เพราะไนอะซินส่งผลต่อการควบคุมน้ำตาล
3. ที่สำคัญเลยก็คือไม่ควรให่สัตว์นั้นกิน

ประโยชน์ของวิตามินบี 3

1. เผาผลาญแป้ง และ ลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดได้
2. บรรเทาอาการปวดศีรษะ
3. กระตุ้นการหมุนเวียนของเลือด
4. ลดความกังวลและความเครียด
5. ขยายหลอดเลือดที่บำรุงสมอง เยื่ออ่อน ผิวหนัง
6. ลดความดันโลหิต

วิตามินบี 5

วิตามินบี 5 (กรดแพนโทเทนิก)

• แหล่งอาหารที่พบวิตามินบี5หลัก ๆ ได้แก่ ตับ ไต หัวใจ เนื้อหมู เนื้อไก่ ธัญพืชไม่ขัดสี น้ำมันรำข้าว ถั่วลิสง ผักใบเขียว กากน้ำตาลไม่บริสุทธิ์

• ผู้ใหญ่ควรรับประทาน 10mcg ต่อวัน

• โรคจากการขาดวิตามินบี 5 ได้แก่ ภาวะน้ำตลาลในเลือดต่ำ แผลในกระเพาะอาหาร อาการเหน็บชา เป็นต้น

ประโยชน์ของวิตามินบี 5

1. ช่วยป้องกันการอ่อนเพลียของร่างกาย
2. รักษาอาการเหน็บชาจากมือ และเท้า
3. ช่วยเสริมระบบสร้างภูมิต้านทานให้แก่ร่างกาย
4. ช่วยในกระบวนการรักษาแผล ทำให้แผล หายเร็วมากยิ่งขึ้น
5. บรรเทาอาการเจ็บปวดที่เกิดจากการผ่าตัด
6. ช่วยให้ร่างกายรู้สึกสดชื่น สมองปลอดโปร่ง
7. บรรเทาอาการเจ็บปวดที่เกิดจากโรค ข้ออักเสบ
8. ลดการข้างเคียงจากยาปฏิชีวนะ
9. ช่วยให้การเจริญเติบโตของร่างกายพัฒนาได้เร็วขึ้น

วิตามินบี6

วิตามินบี 6 (ไพริด็อกซิน)

• วิตามินบี 6 ประกอบด้วย ไพริด็อกซิน ไพริด็อกซาล และไพริด็อกซามีน

• แหล่งอาหารที่พบ ได้แก่ พวกข้าว รำ ยีสต์ นม และข้าวโพด กะหล่ำปลี เป็นต้น

• ควรรับประทานประมาณ 1.6 – 2 mg. ค่อวัน

• เมื่อได้รับวิตามินบี6เกิดขนาด เป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดปัญหาต่อระบบประสาทได้ เช่นทำให้การทำงานของระบบประสาทผิดปกติ

• โรคจากการขาดวิตามินบี 6 นอนไม่หลับ ผมร่วง โลหิตจาง เป็นต้น

ประโยชน์ของวิตามินบี 6

1. บำรุงผิวหนัง
2. เผาผลาญไขมันได้
3. บำรุงระบบประสาท
4. ลดอาการแพ้ท้อง
5. ช่วยไม่ให้ประสาทอักเสบ
6. ป้องกันโรคต่าง ๆ
7. ช่วยให้ร่างกายดูดซึมโปรตีนและไขมันได้ดีมากยิ่งขึ้น
8. ลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ

วิตามินบี7

วิตามินบี 7 (ไบโอติน)

• วิตามินบี 7 (Biotin) หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ วิตามินเอช เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ เพราะว่ามีซัลเฟอร์เป็นส่วนประกอบ

• แหล่งอาหารที่พบได้มาก ได้แก่ แป้งถั่วเหลือง ตับ ไข่แดง เนย บริเวอร์ยีสต์ ข้าวที่ไม่ผ่านการขัดสี ถั่วลิสง

• เมื่อขาดไบโอติน อาจทำให้เกิด ผิวหนังอักเสบ ผมร่าง อาจพบอาการซึมเศร้า ประสาทหลอน รวมถึงเกิดอาการชาตามร่างกาย แขน ขา มือ เท้าร่วมด้วย

ประโยชน์ของไบโอติน

1. ช่วยให้เซลล์ร่างกายมีการเจริญเติมโตได้ดียิ่งขึ้น
2. คงระดับน้ำตาลในกระแสเลือด
3. ช่วยในเรื่องการลำเลียงแก๊สออกซิเจนไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
4. ช่วยเผาผลาญแป้งและไขมันได้เป็นอย่างดี
5. ลดอาการปวดกล้ามเนื้อ
6. บรรเทาอาการที่เกิดจากผดผื่น

วิตามินบี9

วิตามินบี 9 (กรดโฟลิก)

• วิตามินบี 9 หรือ กรดโฟลิก (โฟเลต,โฟลาซิน) หรือรู้จักกันในชื่อ วิตามินเอ็มหรือวิตามินบีซี (BC)

• แหล่งอาหารที่พบ ได้แก่ ไข่แดง ตับ ผักใบเขียวเข้ม แคร์รอต แคนตาลูป ฟักทอง เอพริคอต อะโวคาโด อาร์ทิโชก ถั่ว แป้งไรย์แบบสีเข้มที่ไม่ผ่านการขัดสี ทอร์ทูลายีสต์

• ขนาดที่แนะนำให้รับประทานคือประมาณ 180 – 200 mcg. ต่อวัน

• ผลเสียของการรับประทานเกินขนาด ปัจจุบันยังไม่พบว่ามีอาการที่เป็นพิษต่อร่างกายหากรับประทานในปริมาณมากติดต่อกัน แต่ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการผื่นแพ้ได้บ้าง และหากร่างกายมีกรดโฟลิกมากเกินไป อาจทำให้เป็นโรคโลหิตจางจากการขาดวิตามินบี 12 แต่ไม่แสดงออกมา

• โรคจากการขาดวิตามินบี 9 โรคโลหิตจางแบบแมโครไซติกหรือเม็ดเลือดแดงมีขนาดใหญ่ผิดปกติ

ประโยชน์ของวิตามินบี 9

1. ช่วยให้ระบบประสาททำงานได้เป็นปกติ
2. ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดงและบำรุงสมอง
3. ป้องกันโรคโลหิตจาง
4. ช่วยให้กล้ามเนื้อในกระเพาะอาหารและลำไส้ทำงานได้ดียิ่งขึ้น
5. ลดความเสียงโรคหัวใจ
6. ป้องกันการพิการของเด็กแรกเกิด
7. บำรุงเส้นผม ตา ปาก และตับ

วิตามินบี12

วิตามินบี 12 (โคบาลามิน)

• โคบาลามิน (Cobalamin) หรือ วิตามินบี 12 เป็นวิตามินที่เป็นทั้งสารอาหารและยา ในเวลาเดียวกัน อีกทั้งยังเป็นวิตามินชนิดหนึ่งที่ละลายในน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพดี มีอีกชื่อที่รู้จักกันดีคือ ไซยาโนโคบาลามิน (Cyanocobalamin) เป็นวิตามินเพียงตัวเดียวที่มีแร่ธาตุที่จำเป็นประกอบอยู่ เมื่อรวมตัวกับแคลเซียม จะทำให้ดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ดี

• ร่างการของเราสามารถเก็บสะสมวิตามินบี12 ได้ถึง 3 ปีกว่าที่วิตามินจะสูญสลายไปจากร่างกาย นอกจากนี้การทำงานของต่อมไทรอยด์ที่เป็นปกติจะช่วยการดูดซึมของวิตามินบี 12 อาการของการขาดวิตามินบี 12 อาจใช้เวลาถึง 5 ปีหลังจากที่สะสมในร่างกายหมดไปจึงจะปรากฏให้เห็น

• วิตามินบี 12 ส่วนมากจะพบในพวกเนื้อสัตว์เป็นหลัก เมื่อร่างกายขาดวิตามินบี 12 อาจทำให้เกิดโรคโลหิตจางและโรคเกี่ยวกับระบบประสาทได้

ประโยชน์ของวิตามินบี12

1. วิตามินบี 12 เป็นวิตามินที่ช่วยให้เซลล์ประสาททำงานอย่างมีประสิทธิและเป็นปกติ
2. ปรับสภาพอารมณ์ให้อยู่ในระดับปกติ หรือคลายเครียดนั่นเอง
3. เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย
4. ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตและให้พลังงานให้แก่ร่างกาย
5. เป็นหนึ่งในสารอาหารที่ช่วยรักษาโรคตาเสื่อมในผู้สูงอายุ
6. ทำให้ร่างกายสามารถใช้ โปรตีน และคาร์โบไฮเดรตได้อย่างเหมาะสมอีกทั้งยัง ช่วยลดไขมัน
7. เสริมสร้างเม็ดเลือดแดงให้กับร่างกายของเรา
8. ประโยชน์ของวิตามินบี 12 ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง ป้องกันโรคโลหิตจาง
9. ถ้าขาดวิตามินบี12 อาจทำให้ท้องเสีย ทำให้เกิดอาการชา ร่างกายอ่อนเพลีย
10. ช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารอย่างเต็มที่

วิตามินบี15

วิตามินบี 15 (กรดแพงเกมิก)

• แหล่งอาหารที่พบ แพงเกมิกได้มาก ได้แก่ เมล็ดงา เมล็ดฟักทอง รำข้าว ข้าวเจ้า ผลไม้จำพวกแตง เป็นต้น

• เมื่อขาดวิตามิน บี 15 อาจทำให้ร่างกายเกิด ความผิดปกติ เช่น ออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกายได้น้อยลง ช่วยให้เหนื่อยง่าย

ประโยชน์ของวิตามินบี15

1. ช่วยในเรื่องการนำออกซิเจนไปเลี้ยงในส่วนต่าง ๆ
2. ช่วยอาการอาหารไม่ย่อย
3. ป้องกันอันตรายจากมลพิษรอบกาย
4. ช่วยให้ลดอาการอยากดื่มสุรา
5. บรรเทาการเจ็บหน้าอก
6. ป้องกันโรคตับแข็ง
7. เร่งการฟื้นตัวจากความอ่อนเพลีย
8. ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง

วิตามินบี17

วิตามินบี 17 (อะมิกดาลิน)

• วิตามินบี 17 หรือที่เรียกกันว่า อะมิกดาลิน (Amygdalin)

• แหล่งอาหารที่พบมากนั้น ได้แก่ เมล็ดจากธัญพืช เช่น เมล็ดแอพริคอท แอปเปิ้ล เมล็ดทานตะวัน ถั่ว รวมไปถึงข้าว

• เมื่อได้รับวิตามินชนิดนี้มากเกิดไป เหงื่อออก ปวดศีรษะ มีอาการง่วงซึม ร่างกายอ่อนเพลี หายใจติดขัด ๆ ริมฝีปากเขียว ความดันต่ำ ตัวเย็น

• เราเชื่อกันว่าวิตามินชนิดนี้สามารถช่วยรักษาและชะลอโรคมะเร็งได้ (แต่ยังไม่เป็นที่ยอมรับและน่าเชื่อถือเท่าที่ควร)
พาบา (กรดพารา-แอมิโนเบนโซอิก)

พาบา

พาบา (PABA) จัดอยู่ในกลุ่มวิตามินบีรวม ช่วยในการสร้างกรดโฟลิก พบสะสมในเนื้อเยื่อผิวหนังร่างกาย

• แหล่งอาหารที่สำคัญที่พบ ได้แก่ บริเวอร์ยีสต์ รำข้าว จมูกข้าวสาลี โยเกิร์ต กากน้ำตาล

• เมื่อร่างกายได้รับวิตามินชนิดนี้เป็นเวลายาวนาน จะพบว่า เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน

ประโยชน์ของพาบา

1. ช่วยให้สุขภาพดี บำรุงตับ ไต
2. ช่วยชะลอความเหี่ยว ย่น ของผิว
3. สร้างกรดโฟลิก
4. ลดความเครียด
5.ป้องกันผมหงอก ปกป้องผิวจากแสงแดด

โคลีน

โคลีน (Choline)

• โคลีน (Choline) เป็นสารที่สำคัญที่ช่วยเผลาหลาญไขมันจากร่างกาย และจำเป็นสำหรับการสังเคราะห์โปรตีน อีกทั้งยังจัดอยู่ในกลุ่มของวิตามินบีรวม

• แหล่งอาหารที่พบโคลินได้แก่ ผักใบเขียว ผักกาดหอม ไข่แดง ผลไม้รสเปรี้ยว ธัญพืช เป็นต้น

• เมื่อขาดโคลีนอาจทให้เกิด ความดันโลหิตสูง คอลเลสเตอรอลสูง ความต้านทานโรคต่ำ ประสาทเสื่อม ตับถูกทำลาย ส่งผลให้ตับแข็งได้

ประโยชน์ของโคลีน

1. ช่วยสร้างเลซิติน
2. ลดการสะสมคอลเลสเตอรอล
3. ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย
4. ช่วยในการทำงานของระบบประสาท โดยเฉพาะเรื่องความจำ
5. แก้ปัญหาเรื่องความจำเสื่อม
6. กำจัดสารพิษที่ตกค้างภายในร่างกาย
7. ช่วยป้องกันโรคอัลไซเมอร์

อิโนซิทอล

อิโนซิทอล (Inositol)

• อิโนซิทอล (Inositol) ร่างกายนั้นสามารถสังเคราะห์ได้ พบมากในสมอง ไขสันหลัง จัดอยู่ในกลุ่มของวิตามินบีรวม

• แหล่งอาหารที่พบ ได้แก่ ข้าวกล้อง ผักใบเขียวต่าง ๆ หัวหอม ไก่ ตับ ถั่วลิสงเป็นต้น

• ควรรับประทานประมาณ 100-200 มิลลิกรัมต่อวัน

• ผลจากการขาดอิโนซิทอล

1. อาจเกิดอาการตับแข็ง เนื่องจากตับไม่ทำงาน หรือทำงานไม่เต็มที่ เนื่องจากมีไขมันมาเกาะ
2. โรคหัวใจ คอลเลสเตอรอลสูง
3. ผื่นคัน ผิวหนังอักเสบ
4. เกิดความผิดปกติกับดวงตา
5. เกิดภาวะเส้นเลือดอุดตัน เช่น มีการแข็งตัวของผนังเส้นเลือด

ประโยชน์ของอิโนซิทอล

1. ควบคุมสภาพหัวใจ ตับ ไต และเส้นผมให้อยุ่ในสภาพสมบูรณ์
2. ป้องกันการแข็งตัวของเลือด
3. ทำให้ไม่เครียด รู้สึกผ่อนคลาย
4. ป้องกันโรคที่เกิดจากผิวหนัง
5. ควมคุมระดับคอลเลสเตอรอลในเลือด
6. มีความสำคัญต่อภาวะเจริญเติบโต

วันนี้เพื่อนๆ ก็ได้รู้จักกันกับ วิตามิน บีรวมกันมากขึ้น หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับหลาย ๆ คนวันนี้ขอตัวลาไปก่อน สวัสดีจ้า